วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างและหน้าที่ของดอก (ดอกไม้)

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพืชน่ารู้
ชุดที่ 1 เรื่องโครงสร้างของพืช

โครงสร้างและหน้าที่ของดอก

ชนิดของดอก มีดังนี้
ดอกของพืชโดยทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญครบ 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย แต่ดอกของพืชบางชนิดมีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน จึงจำแนกดอกเป็น 2 ประเภท โดยพิจารณาจากส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ ได้แก่


1. ดอกสมบูรณ์ คือ ดอกที่มีส่วนประกอบครบ 4 ส่วน ได้แก่ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย เช่น ดอกชบา ดอกกุหลาบ ดอกอัญชัน เป็นต้น
 ดอกชบา


 ดอกชวนชม

 ดอกกุหลาบ

 ดอกมะเขือ

 ดอกดาวกระจาย


ดอกหางนกยูงไทย




 ดอกอัญชันสีขาว

2. ดอกไม่สมบูรณ์ คือ ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน เช่น        ดอกหน้าวัว ดอกตำลึง ดอกฟักทอง ดอกมะละกอ เป็นต้น

ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม

 
 
ดอกตำลึง 
ถ้าพิจารณาเกสรของดอกที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์เป็นเกณฑ์ จะจำแนกดอกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ดอกสมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ใน     ดอกเดียวกัน เช่น ดอกชบา ดอกมะม่วง ดอกต้อยติ่ง ดอกอัญชัน ดอกมะเขือ เป็นต้น    
2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียอยู่ภายในดอกเพียงเพศเดียว ดอกที่มีเกสรเพศผู้อย่างเดียว เรียกว่า ดอกเพศผู้ และดอกที่มีเกสรเพศเมียอย่างเดียว เรียกว่า ดอกเพศเมีย เช่น ดอกฟักทอง ดอกบวบ        ดอกตำลึง ดอกมะละกอ เป็นต้น 


 ถ้าพิจารณาจำนวนดอกที่เกิดจากหนึ่งก้านดอกเป็นเกณฑ์ จะจำแนกดอกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เป็นดอกเดียวโดด ๆ เช่น ดอกจำปี ดอกชบา เป็นต้น
2. ดอกช่อ คือ ดอกที่เกิดเป็นกลุ่มบนก้านดอก ประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก แต่ละดอกย่อยมีก้านดอกย่อยอยู่บนก้านดอก เช่น ดอกหางนกยูง ดอกกล้วยไม้ ดอกทานตะวัน ดอกกระถินณรงค์ เป็นต้น
 ดอกเดี่ยว ของจำปี
 
ดอกช่อ ของต้นหางนกยูงไทย 




หน้าที่ของดอก มีดังนี้
1. ช่วยล่อแมลงให้มาผสมเกสร
2. ทำหน้าที่ผสมพันธุ์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พืชสวน...chaingmai

พืชสวน...chaingmai

CONGRATLATION...TITIN JARUK

CONGRATLATION...TITIN  JARUK

PAI...Maehongsorn

PAI...Maehongsorn